การกำกับดูแลกิจการ

ภาคผนวก AC Charter

ภาคผนวก : กฎบัตรของคณะกรรมการตรวจสอบ
ตารางหน้าที่และความรับผิดชอบ


เนื่องจากขอบเขตหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวข้องกับหน่วยงานหลายฝ่าย ซึ่งต้องเป็นผู้รายงานและให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง บริษัทจึงเห็นควร
ให้มีการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของหัวหน้าหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานของคณะกรรมการตรวจสอบให้เป็นที่ชัดเจน เพื่อที่จะสนับสนุนการปฏิบัติงาน
ของคณะกรรมการตรวจสอบให้บรรลุตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่คณะกรรมการบริษัทได้มอบหมายดังนี้

ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ ผู้รับผิดชอบ /
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
หน้าที่ในการรายงาน
1. สอบทานให้บริษัทมีรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเพียงพอ ฝ่ายจัดการ,
ผู้บริหารสายงาน
บัญชีการเงิน,
ฝ่ายบัญชีการเงิน
• รายงานสรุปผลการดำเนินงานเทียบกับเป้าหมายและงบประมาณรายเดือนพร้อมสาเหตุของผลแตกต่างที่มีนัยสำคัญ ตลอดจนเงื่อนไขและ ข้อผูกพันตามสัญญาต่าง ๆ
• รายงานการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี ระบบบัญชี และรายงานทางการเงิน
• รายงานงบการเงินรายไตรมาสและประจำปี
• รายงานมาตรฐานการบัญชีที่ออกใหม่ และผลกระทบกับบริษัท
• รายงานประกาศของสำนักงานก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงบการเงิน
• ให้ความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้องครบถ้วน เป็นที่เชื่อถือได้ของรายการทางการเงินของบริษัท
2. สอบทานให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) และการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล สอบทานและอนุมัติกฎบัตร หน่วยงานตรวจสอบภายใน แผนงานและงบประมาณ พิจารณาความเป็นอิสระของหน่วยงานตรวจสอบภายใน ตลอดจนให้ความเห็นชอบในการพิจารณาแต่งตั้งโยกย้าย เลิกจ้างหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในหรือหน่วยงานอื่นใดที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน ฝ่ายจัดการ,
ผู้บริหารสายงาน,
และฝ่ายตรวจสอบภายใน
• นำเสนอกฎบัตรฝ่ายตรวจสอบภายในเพื่อทบทวนในแต่ละปี
• นำเสนอแผนงานและงบประมาณของฝ่ายตรวจสอบภายใน
• รายงานผลการตรวจสอบ การติดตามผลและความเพียงพอของระบบควบคุมภายในเป็นระยะ ๆ
• รายงานความเห็นเกี่ยวกับข้อสังเกตในหนังสือเสนอฝ่ายจัดการ (Management Letter) ของผู้สอบบัญชี
• รายงานมาตรฐานการตรวจสอบภายใน
• รายงานประกาศของสำนักงานก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบริษัท
• จัดทำรายงานการประเมินระบบการควบคุมภายในของบริษัทและบริษัท ย่อยตามมาตรฐานการตรวจสอบภายในและข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์และสำนักงาน ก.ล.ต.
• รายงานผลการปรับปรุงแก้ไขระบบควบคุมภายในที่สำคัญให้ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของบริษัทใหญ่และบริษัทย่อยและให้ความเห็นความเป็นอิสระของหน่วยงานตรวจสอบภายในเพื่อเสนอคณะกรรมการตรวจสอบ
• เสนอขอความเห็นชอบการพิจารณาแต่งตั้ง โยกย้าย เลิกจ้างหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน
3. สอบทานให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร,
กรรมการผู้จัดการ,
ฝ่ายจัดการ,
ผู้บริหารสายงาน,
ฝ่ายกฎหมาย,
ฝ่ายบัญชีการเงิน
และฝ่ายตรวจสอบภายใน
• สรุปรายการสำคัญของกฎหมายรวมถึงประมวลรัษฎากร และข้อกำหนดที่ต้องปฏิบัติตาม
• รายงานการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบกฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์, สำนักงาน ก.ล.ต.และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
• ให้คำยืนยันการปฏิบัติตามประมวลรัษฎากรและตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องว่าถูกต้อง
• รายงานการปฏิบัติตามกฎหมาย,สัญญา และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง
• ให้ความเห็นผลการตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับและข้อกำหนดที่บริษัทต้องปฏิบัติ
4. พิจารณา คัดเลือก เสนอแต่งตั้ง บุคคลที่มีความเป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชี รับอนุญาต และเสนอค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีของบริษัท รวมทั้งเข้าร่วมการประชุมกับผู้สอบบัญชีรับอนุญาตโดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วมการประชุมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง คณะกรรมการตรวจสอบ,
ผู้บริหารสายงานบัญชีการเงิน,
ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
และฝ่ายตรวจสอบภายใน
• รายงานผลการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชี ระยะเวลาที่สอบบัญชีมีการรับงานอื่นจากบริษัท และบริษัทย่อย พร้อมข้อเสนอแนะการแต่งตั้งและค่าสอบบัญชี
• ยืนยันความเป็นอิสระ
• จัดทำตารางนัดประชุมกับผู้สอบบัญชีโดยเฉพาะ
5. พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร,
กรรมการผู้จัดการ,
ผู้บริหารสายงาน,
ฝ่ายบัญชีการเงิน
และฝ่ายตรวจสอบภายใน
• รวบรวมรายชื่อกรรมการและผู้บริหารตามเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์และส่วนได้เสียจากการเป็นผู้บริหาร กรรมการ การถือหุ้นตามหลักเกณฑ์และวิธีที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด เสนอประธานกรรมการบริษัท และประธานคณะกรรมการตรวจสอบ
• พิจารณาเสนอรายการเกี่ยวโยงกันและรายการอื่นที่กฎหมายกำหนดดำเนินการตามขั้นตอนที่สำนักงาน ก.ล.ต. หรือตลาดหลักทรัพย์กำหนด
• แจ้งและรวบรวมรายการเกี่ยวโยงและขัด แย้งทางผลประโยชน์หลักฐานที่แสดงราคายุติธรรมและเป็นประโยชน์สูงสุดรายงานให้คณะกรรมการตรวจสอบและฝ่ายบริหารทราบหรือพิจารณา
• รายงานผลการตรวจสอบของกิจกรรมดังกล่าว
6. สอบทานให้บริษัทมีระบบการบริหารความเสี่ยง (Risk Management) ที่มีประสิทธิภาพ ฝ่ายจัดการ,
ผู้บริหารสายงาน
และฝ่ายตรวจสอบภายใน
• ประชุมร่วมกับฝ่ายบริหารที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาว่า ได้มีการกำหนดความเสี่ยง และการบริหารความเสี่ยง
7. จัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบโดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัท ซึ่งรายงานดังกล่าวต้องลงนามโดยประธานคณะกรรมการตรวจสอบ และต้องประกอบด้วยข้อมูลอย่างน้อยตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด ฝ่ายจัดการ,
เลขานุการบริษัท
และเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ
• เสนอร่างรายงานรายการกำกับดูแลกิจการของคณะกรรมการตรวจสอบตามแนวทางการกำกับดูแลที่ดี และต้องประกอบด้วยข้อมูลหลักฐานและข้อมูลสนับสนุนเพื่อให้คณะกรรมการตรวจสอบแสดงความเห็นได้ตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด
• ให้ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทว่าปฏิบัติถูกต้อง
• ให้ความเห็นเกี่ยวกับรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ว่าได้มีการพิจารณาและปฏิบัติถูกต้อง
• ให้ความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของผู้สอบบัญชี
• รายการอื่นที่เห็นว่าผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปควรทราบภายใต้ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท
8. รายงานผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบให้คณะกรรมการบริษัทอย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ • เสนอร่างรายงานผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบ
9. ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ หากพบหรือมีข้อสงสัยว่ามีรายการหรือการกระทำ ซึ่งอาจมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทให้คณะกรรมการตรวจสอบรายงานต่อคณะกรรมการของบริษัท เพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไขภายในเวลาที่คณะกรรมการตรวจสอบเห็นสมควร ฝ่ายจัดการ
และผู้บริหารสายงานบัญชีการเงิน
• ผู้อำนวยการสำนักกรรมการผู้อำนวยการ หรือผู้อำนวยการฝ่ายการเงินหรือผู้ตรวจสอบภายใน พบรายการหรือการกระทำ ซึ่งอาจมีผลกระ ทบอย่างมีนัยสำคัญต่อฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทจะต้องรีบรายงานให้คณะกรรมการตรวจสอบ ทราบทันทีพร้อมหลักฐาน
10. ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตพบพฤติการณ์อันควรสงสัยว่า กรรมการ ผู้อำนวยการผู้จัดการ หรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทได้กระทำความผิดตามที่กฎหมายระบุและได้แจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์ดังกล่าวให้คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัททราบ และเพื่อดำเนินการตรวจสอบต่อไปโดยไม่ชักช้า และให้คณะกรรมการตรวจสอบรายงานผลการตรวจสอบเบื้องต้นให้แก่สำนักงานและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตทราบ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตถึงพฤติการณ์อันควรสงสัยที่ต้องแจ้งดังกล่าว และวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์นั้นให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด ผู้สอบบัญชี
และเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ
• ผู้สอบบัญชีมีหนังสือถึงประธานกรรมการตรวจสอบและสำเนาถึงกรรมการตรวจสอบทุกท่าน โดยส่งผ่านเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบเป็นลับด่วนมาก
• ให้เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบจัดประชุมณะกรรมการตรวจสอบตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด เพื่อวางแนวการตรวจสอบโดยด่วน

เอกสารแนบ : 1. มาตราที่เกี่ยวข้องของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551
                     2. ประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง คุณสมบัติและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ พ.ศ. 2551
                     3. ประกาศ กลต. ก.(ว) ที่ 32/2551 เรื่อง การปรับปรุงข้อกำหนดเกี่ยวกับกรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ