การกำกับดูแลกิจการ

กฎบัตรคณะกรรมการบริหาร

กฎบัตรคณะกรรมการบริหาร

1. วัตถุประสงค์
    คณะกรรมการบริหารถูกแต่งตั้งโดยคณะกรรมการบริษัท เพื่อเข้ามาบริหารจัดการและควบคุมกิจการของบริษัท
ตามที่คณะกรรมการบริษัท มอบหมายให้ปฏิบัติงาน

2. องค์ประกอบ
    2.1 คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร โดยคัดเลือกจากกรรมการและผู้บริหารของ
          บริษัทที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
    2.2 คณะกรรมการบริหารประกอบด้วยคณะกรรมการจำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน
    2.3 การแต่งตั้งกรรมการบริหาร ต้องผ่านกระบวนการสรรหาของคณะกรรมการสรรหาและกำหนด
          ค่าตอบแทน กรณีที่บริษัทยังไม่มีคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ให้คณะกรรมการ
          บริษัทเป็นผู้พิจารณา โดยต้องมีรายละเอียดประวัติการศึกษาและประสบการณ์การประกอบวิชา
          ชีพของบุคคลนั้นๆ เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจของกรรมการบริษัท

3. คุณสมบัติ
    3.1 กรรมการต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ มีความซื่อสัตย์ สุจริต มีจริยธรรม ในการดำเนิน
          ธุรกิจ และมีเวลาเพียงพอที่จะอุทิศความรู้ ความสามารถและปฏิบัติหน้าที่ให้แก่บริษัทได้
    3.2 มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัดและกฎหมายที่
          เกี่ยวข้อง

4. วาระการดำรงตำแหน่งและการแต่งตั้งกรรมการบริหาร
    4.1 กรรมการบริหารมีวาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี
    4.2 นอกจากการพ้นตำแหน่งตามวาระแล้ว กรรมการบริหารพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
          (1) ตาย
          (2) ลาออก
          (3) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด
          (4) ศาลมีคำสั่งให้ออก
          (5) ถอดถอนโดยคณะกรรมการบริษัท
    4.3 กรรมการบริหารที่เป็นพนักงานบริษัทเกษียณอายุ 60 ปี แต่จะสามารถดำรงตำแหน่งได้ โดยได้รับ
          การเห็นชอบ/การแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัทด้วยคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่ง
    4.4 เมื่อกรรมการบริหารดำรงตำแหน่งครบวาระ ให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาแต่งตั้งใหม่ทุกปีในการ
          ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งแรกหลังจากการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี กรรมการบริหารที่
          ครบกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งดังกล่าว มีสิทธิกลับเข้าดำรงตำแหน่งอีกวาระหนึ่ง

5. หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหาร
    5.1 เสนอแนะให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติในเรื่องดังต่อไปนี้
          (ก) เป้าหมาย
          (ข) นโยบายธุรกิจ
          (ค) แผนธุรกิจ
          (ง) กลยุทธ์ทางธุรกิจ
          (จ) อำนาจการบริหารงาน
          (ฉ) งบประมาณรายจ่ายประจำปี
          (ช) นโยบายการบริหารความเสี่ยง
          (ซ) ขอบเขต อำนาจ และหน้าที่ของกรรมการผู้จัดการ
          (ฌ) เรื่องอื่น ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อกิจการของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ
          (ญ) เรื่องอื่น ๆ ที่คณะกรรมการบริหารเห็นสมควรเสนอเพื่อขออนุมัติหรือตามหลักเกณฑ์
                ที่คณะกรรมการบริษัทกำหนด
    5.2 ควบคุมดูแลการดำเนินธุรกิจของบริษัทให้เป็นไปตามนโยบายธุรกิจ แผนธุรกิจ และกลยุทธ์ทาง
          ธุรกิจที่คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติแล้ว
    5.3 กำกับดูแลนโยบายธุรกิจ แผนธุรกิจ กลยุทธ์ทางธุรกิจ และผลการดำเนินงานของบริษัทในเครือ
    5.4 มีอำนาจพิจารณาอนุมัติการกู้หรือการขอสินเชื่อใดๆ เพื่อธุรกรรมตามปกติของบริษัท รวมถึงการ
          เป็นผู้ค้าประกันหรือการชำระเงิน เพื่อการดำเนินธุรกิจตามปกติของบริษัท โดยมีวงเงินในแต่ละ
          รายการไม่เกิน 20,000,000 บาท หรือเทียบเท่า โดยวงเงินดังกล่าวให้เป็นไปตามระเบียบอำนาจ
          อนุมัติและดำเนินการของบริษัท ซึ่งผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการบริษัทแล้ว ทั้งนี้ วงเงิน
          ดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการบริษัท
    5.5 มีอำนาจพิจารณาอนุมัติการบริหารสภาพคล่อง สำหรับการทำธุรกรรมด้านเงินฝากตั๋วเงินของ
          สถาบันการเงิน พันธบัตรรัฐบาล กองทุนรวมเปิดตราสารหนี้ ในวงเงินที่ไม่เกิน 30,000,000 บาท
          และพิจารณารายงานการทำธุรกรรมด้านเงินฝากจากฝ่ายบริหารการเงิน
    5.6 การกำหนดโครงสร้างองค์กรและการบริหาร โดยให้ครอบคลุมถึง รายละเอียดการคัดเลือก
          การฝึกอบรม การว่าจ้าง การเลิกจ้างพนักงานบริษัท
    5.7 พิจารณาการลงทุนในโครงการหรือหลักทรัพย์หรือการเข้าร่วมทุน ตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะ
          กรรมการบริษัท
    5.8 ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทในแต่ละคราว
          ทั้งนี้ ในกรณีที่การดำเนินการใดที่มีหรืออาจมีผลประโยชน์หรือส่วนได้ส่วนเสียของกรรมการบริหาร
          ท่านใดหรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง (ตามประกาศของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์)
          ให้คณะกรรมการบริหาร นำเสนอเรื่องดังกล่าวต่อคณะกรรมการบริษัท เพื่อให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณา
          ต่อไป โดยกรรมการบริหารท่านนั้นและบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง จะไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในการ
          ประชุมคณะกรรมการบริษัทในเรื่องดังกล่าว

6. การประชุม
    6.1 คณะกรรมการบริหารจะต้องจัดให้มีหรือเรียกประชุมตามที่เห็นสมควร โดยอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง
          คณะกรรมการบริหารมีหน้าที่ที่จะต้องเข้าร่วมประชุมอย่างสม่ำเสมอ
    6.2 ในการประชุมคณะกรรมการบริหารจะต้องมีกรรมการบริหารเข้าร่วมในการประชุมแต่ละครั้ง
          อย่างน้อยกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงครบเป็นองค์ประชุม
    6.3 วาระการประชุมและเอกสารการประชุมจะต้องจัดส่งให้คณะกรรมการบริหารล่วงหน้า ก่อนการ
          ประชุม
    6.4 การลงมติของคณะกรรมการบริหารกระทำได้โดยการถือตามเสียงข้างมาก ทั้งนี้ กรรมการผู้มีส่วนได้
          เสียในเรื่องใด จะต้องไม่เข้าร่วมประชุมในการลงมติใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนั้น